Hydrochloric Acid – ไฮโดรคลอริก แอซิด (กรดเกลือ)
กรดเกลือ 35% เป็นสารละลายใส อาจมีสีเหลือง ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเจือปน มีควันแสบจมูก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับน้ำ ละลายเข้าได้กับน้ำ พร้อมกับเกิดควัน ที่มีกลิ่นแสบจมูก โดยเมื่อเจือจางกรดนี้ 83 ml ด้วยน้ำจนครบ 1 ลิตรจะได้ ~ 1.0 N HCI (pH ~ 0.10)
ชื่อผลิตภัณฑ์ : HYDROCHLORIC ACID | ไฮโดรคลอริค เอซิด (กรดเกลือ)
สูตรเคมี : HCl
ORIGIN: THAILAND | ประเทศไทย
PACKING (Kg): 25kg
รายละเอียดเพิ่มเติม
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก
ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยนักเล่นแร่แปรธาตุชื่อ จารเบียร์ เฮย์ยัน มีลักษณะจำเพาะ ดังนี้
- เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
- ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
- เป็นกรดแก่
- มีมวล 36.46 กรัม/โมล
- ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
- จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
- จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส
ประโยชน์ และการนำไปใช้
- ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
- ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย
- ใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
- ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
- ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
- ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
- ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง
ข้อมูลความอันตรายของสาร
- เมื่อการสลายตัวหรือทำปฏิกิริยากับโลหะหรือสารอื่นจะทำให้เกิดควันที่เป็นพิษของก๊าซ Hydrogen Chloride และเกิดปฏิกิริยาที่มีความไวกับไฟหรือเกิดระเบิดได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับด่าง, amines, โลหะกลุ่มอัลคาไล, ทองแดง, อัลล์ลอยด์ของทองแดง, อลูมิเนียม, เหล็ก
- เกิดปฏิกิริยารุนแรงหากกรดมีความเข้มข้นสูงมีการสัมผัสกับน้ำ
- มีความเป็นพิษสูง และมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมาก ควัน และไอจะระคายเคืองต่อดวงตา, เยื่อบุอ่อน, และทางเดินหายใจส่วนบน
ข้อแนะนำ และแนวทางปฏิบัติ
- ควรสวมเครื่องกรองอากาศ, ถุงมือกันสารเคมี, แว่นครอบตา และเสื้อผ้าคลุมตามมาตรฐานของ OSHA/MSHA
- ควรจัดให้มีท่อฝักบัว และอ่างล้างตาในสถานที่ปฏิบัติงาน
- ระวังการสัมผัสถูกซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- ควรเก็บภาชนะให้ปิดแน่นเสมอ, เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น, ระวังอาจเกิดแรงดันในภาชนะได้
- ถ้าสัมผัสถูกให้เปิดน้ำล้างบริเวณที่สัมผัสถูก เช่น ตา, ผิวหนัง, ด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อม ๆ ไปกับถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปื้อนออก โดยเฉพาะบริเวณดวงตา เพื่อความแน่ใจว่าล้างสารพิษออกหมด ให้ใช้นิ้วมือดึงหนังตา เปิดล้างด้วยน้ำสะอาดด้วย
- ถ้าหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยออกมาที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์, ถ้าหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน
- ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ วิธีที่ควรใช้คือ ปาก ต่อ ปาก
- ถ้ารับประทาน และผู้ป่วยมีสติให้ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด
- สุดท้ายรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
การจัดเก็บ
- เก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- เก็บไว้บริเวณที่อุณหภูมิต่ำ และแห้ง
- เก็บให้ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดความร้อน หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
- เก็บไว้ให้ห่างจากน้ำ หรือ บริเวณที่มีความชื้นสูง
- แหล่งจัดเก็บสามารถเข้าออกได้สะดวก