Sodium Hydroxide – โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟน้ำ)
โซเดียม ไฮดร็อกไซด์ หรือเรียกอีกอย่างว่า โซดาไฟ (caustic soda) เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื่องจากคุณสมบัติเป็นเบสแก่ ประกอบด้วยโลหะโซเดียมและเบสไฮดรอกไซด์ ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ น้ำดื่ม สบู่ และผงซักฟอก นอกจากนั้นยังใช้ปรับสภาพน้ำทิ้งที่มีฤทธิ์เป็นกรด ให้เป็นกลางก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย
ชื่อผลิตภัณฑ์ : SODIUM HYDROXIDE 50% | โซเดียม ไฮดร็อกไซด์ 50% (โซดาไฟน้ำ)
สูตรเคมี : NaOH
ORIGIN: THAILAND | ประเทศไทย
PACKING (Kg): 30kg
รายละเอียดเพิ่มเติม
โซดาไฟบริสุทธิ์
มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ที่พบได้บ่อยจะทำเป็นเม็ด หรือทำเป็นสารละลายอิ่มตัวที่มีความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ โซดาไฟนี้ดูดความชื้นได้ดีมาก หากนำออกมาจากภาชนะบรรจุแล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่มันจะดูดความชื้นจากอากาศ จากสภาพที่เป็นเม็ดแข็ง จะเริ่มเหลว เนื้อสารจะน้อยลง เพราะถูกเจือจางด้วยความชื้นนั่นเอง จึงควรเก็บโซดาไฟไว้ในขวดที่มีฝาปิดสนิท เมื่อเตรียมโซดาไฟบริสุทธิ์ให้เป็นสารละลายโดยการละลายน้ำ จะให้ความร้อนออกมาจึงต้องระมัดระวัง หากเตรียมความเข้มข้นสูงๆ ห้ามเตรียมในภาชนะพลาสติกเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากการละลายด้วยน้ำ จะทำให้พลาสติกละลายได้ ความสามารถในการละลายของโซดาไฟจะลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้วได้อีกนอกจากน้ำ เช่น เอทานอล และเมทานอล ไม่สามารถละลายได้ใน อีเทอร์ หรือตัวทำละลายอื่นที่ไม่มีขั้ว
ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ
โซดาไฟ สามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้อย่างเฉียบพลัน ถ้าสูดดมฝุ่นควันของสารจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลาย ตั้งแต่ระคายเคือง หรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมา ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วรีบนำส่งแพทย์ หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นทันที โดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ พยายามอย่าให้น้ำล้างตาไหลข้างที่มีสารเคมีไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไรโดยเด็ดขาด เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออก โดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที พร้อมกับถอดชุด – อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด
โซดาไฟกับปฏิกิริยาต่อเนื่อง
แม้ว่าโซดาไฟเป็นสารไม่ติดไฟ แต่ถ้าสัมผัสกับสารบางชนิด เช่น กรดเข้มข้น หรือทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกันจนเกิดความร้อนพอเพียง และทำให้สารที่วางอยู่ใกล้สามารถติดไฟได้ การดับเพลิงจึงต้องดูสารที่เป็นคู่ปฏิกิริยาทางเคมี และรวมถึงการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ด้วย
การจัดเก็บ
- หากเป็นเกล็ดควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เนื่องจากสารสามารถดูดความชื้นได้
- เก็บไว้บริเวณที่อุณหภูมิต่ำ และแห้ง
- เก็บให้ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดความร้อน หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
- เก็บไว้ให้ห่างจากน้ำ หรือ บริเวณที่มีความชื้นสูง