Nitric Acid – ไนตริก แอซิด (กรดดินประสิว)
Home » สินค้า » Nitric Acid – ไนตริก แอซิด (กรดดินประสิว)

Nitric Acid – ไนตริก แอซิด (กรดดินประสิว)

 

กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว

เป็นกรดที่มีความอันตราย หากสัมผัสจะทำให้เกิดแผลไหม้ขั้นรุนแรง สารละลายที่มีกรดไนตริกมากกว่า 86% เรียกว่า fuming nitric acid สามารถกัดกร่อนโลหะได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขาว (white fuming nitric acid) และแดง (red fuming nitric acid)

ชื่อผลิตภัณฑ์ : NITRIC ACID | ไนตริก เอซิด

สูตรเคมี : HNO3

ORIGIN: THAILAND | ประเทศไทย

PACKING (Kg): 35kg / 280kg / 10,000kg (Tank) / 13,000kg (Tank)

INQUIRY | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

รายละเอียดเพิ่มเติม

การนำไปใช้

กรดไนตริกมีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นฉุนรุนแรงและมีความเป็นกรดสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มีการนำกรดไนตริกมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด จำนวน 25 ทะเบียน ซึ่งทั้ง 25 ทะเบียนตำรับ เป็นทะเบียนตำรับที่ขอขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในระดับอุตสาหกรรมทั้งหมด เข่นนำไปใช้ขจัดคราบตะกรันน้ำเบียร์และนม ขจัดคราบสะสมของสารอนินทรีย์ในท่อถัง หรือในระบบหมุนเวียนอัตโนมัติสาหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการนำไปใช้ในระบบของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เช่นการปลูกผักสลัดเป็นต้น โดยมีความเข้มข้นของกรดไนตริกที่ใช้ ตั้งแต่ 2.58-49.93%

อันตรายต่อสุขภาพ

กรดไนตริกเป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง จึงอาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังตาเยื่อบุ หากมีการสัมผัสกับกรดไนตริกโดยตรง โดยจะทำให้ผิวหนังหรือเยื่อบุมีสีเหลือง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกรดไนตริก หากกรดไนตริกเข้มข้นสัมผัสกับกระจกตาแม้เพียงเวลาสั้นๆสามารถทาให้เกิดแผลที่กระจกตาและมีการทาลายเนื้อเยื่อและก่อให้เกิดความผิดปกติของการมองเห็นหรือตาบอดชนิดถาวรได้ ผู้ที่รับประทานกรดไนตริกเข้าไปอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน (เป็นเลือด) ทางเดินอาหารอักเสบชนิดเลือดออก เนื้อเยื่อถูกทาลายช็อค กล่องเสียงบวม แผลทะลุที่บริเวณทางเดินหายใจ เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และภาวะที่มีกรดในร่างกายมากเกินไป (metabolic acidosis) เนื่องจากในขณะนี้ การใช้ไนกรดไนตริกในทะเบียนตำรับวัตถุอันตรายมีเฉพาะการใช้ในระดับอุตสาหกรรม ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีกรดไนตริกในสินค้าอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนทั่วไป สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกรดไนตริกโดยตรง เช่นผู้ที่ทำงานในกระบวนการผลิตกรดไนตริก อาจรับสัมผัสกรดไนตริกเหลวหรือไอของกรดไนตริกได้ ดังนั้นในสถานที่ผลิตควรจะต้องจัดให้มีระบบการหมุนเวียนอากาศที่ดี และควบคุมระดับของกรดไนตริก นอกจากนี้ผู้ว่าจ้างควรจัดให้ลูกจ้างมีการฝึกอบรมมีกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและเครื่องมือที่ป้องกันการรับสัมผัสกรดไนตริก

ผลจากการรับสัมผัสกรดไนตริก

ในกรณีได้รับสัมผัสกรดไนตริกในช่วงเวลาสั้นๆนั้น ผลของไอหรือควันของกรดไนตริกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาจมูกลำคอและผิวหนัง สารละลายกรดไนตริกหรือไอของกรดไนตริกที่ความเข้มข้นสูงๆอาจทำให้เกิดแผลไหม้รุนแรงและอาจทำให้เกิดการทำลายดวงตาอย่างถาวร ทำให้ผิวไหม้เป็นแผลทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง หากหายใจเอาไอของกรดไนตริกเข้าไป จะทำให้หายใจได้ลาบาก ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นภายหลังจากหายใจเอาไอกรดไนตริกเข้าไปแล้วเป็นเวลานาน (Delayed onset) นอกจากนี้แล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมได้อีกด้วย การกลืนกินกรดไนตริกเข้าไปอาจทำให้ปากคอและทางเดินอาหารเป็นแผลไหม้ได้ สำหรับผลจากการได้รับสัมผัสกรดไนตริกเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ฟันผุ รวมทั้งมีการทำลายของปอดได้ อย่างไรก็ตามสารละลายกรดไนตริกสามารถสลายตัวเป็นแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ และไนตริกออกไซด์ จึงไม่ควรพิจารณาความเป็นพิษของกรดไนตริกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาถึงพิษของสารอื่นที่ได้จากการสลายตัวของกรดไนตริก รวมทั้งแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สสีน้าตาลแดงกลิ่นฉุน โดยจะรู้สึกได้เมื่อความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์อยู่ที่ประมาณ 0.1-0.2 มิลลิลิตร ของไนโตรเจนไดออกไซด์ต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อหายใจเข้าไปพบว่าประมาณ 90% ของแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ จะถูกดูดซึมโดยระบบทางเดินหายใจเมื่อเข้าสู่ร่างกาย แล้วแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์จะเปลี่ยนแปลงเป็นกรดไนตรัส กรดไนตริก และไนตริกออกไซด์ ที่ทางเดินหายใจ ทำให้อาจเกิดอาการระคายเคือง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระไนโตรเจนไดออกไซด์ที่ไม่มีประจุ สามารถทำปฏิกิริยากับสารชีวโมเลกุล เช่นดีเอ็นเอนิวคลีโอไซด์ โปรตีนไขมันก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายต่างๆตามมา เช่นเกิดการทำลายของไขมันในเยื่อหุ้มอนุมูลไนโตรเจนไดออกไซด์ สามารถทำปฏิกิริยากับสารบางชนิดเปลี่ยนเป็นสารซึ่งเป็นพิษต่อรหัสพันธุกรรม นอกจากนี้สารไนโตรเจนไดออกไซด์ยังจัดเป็นสารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (Mutagenic) และสารที่ทำให้โครโมโซมแตกหัก (Clastogenic) อีกทั้งไนโตรเจนไดออกไซด์ยังมีผลเปลี่ยนแปลงระดับของไนโตรเจนออกไซด์ในเซลล์ ซึ่งไนโตรเจนออกไซด์นี้ มีบทบาทมากในการส่งสัญญาณในระดับเซลล์ เช่นในภาวะที่มีการอักเสบหรือภาวะเครียด ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ จึงอาจทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ผิดปกติ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กรดไนตริกเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำมากๆทันที ดึงเปลือกตาบนและล่างเป็นระยะๆ หากยังมีอาการระคายเคืองหลังจากล้างน้ำแล้วให้ไปพบแพทย์ทันที อนึ่งไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะทำงานกับสารเคมี ถ้ากรดไนตริกหรือไอเข้มข้นของกรดไนตริกสัมผัสกับผิวหนัง ให้ชะล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำ ถ้าผิวหนังส่วนนั้นมีเสื้อผ้าปกคลุมให้ถอดเสื้อผ้าออกและชะล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำและไปพบแพทย์ทันที กรณีที่หายใจเอากรดไนตริกเข้าไปในปริมาณมากๆ ให้เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับกรดไนตริกไปที่อากาศบริสุทธิ์ทันที ถ้าพบว่ามีการหยุดหายใจ ให้ทำการช่วยหายใจ ให้ผู้ที่หายใจเอาไอกรดไนตริกเข้าไปพักผ่อน ทำให้ร่างกายอบอุ่นและไปพบแพทย์ทันทีที่ทำได้ ในกรณีที่รับประทานกรดไนตริก ถ้าผู้ป่วยยังมีสติให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆทันทีเพื่อไปเจือจางกรดไนตริก อย่าพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และรีบไปพบแพทย์ทันที การจัดการกรณีที่มีการหกรั่ว และการกำจัดกรดไนตริก ไม่ควรให้บุคคลที่ไม่สวมใส่อุปกรณ์หรือเสื้อผ้าที่ป้องกันร่างกายเข้าไปในพื้นที่ที่มีการหกหรือรั่วของกรดไนตริก จนกว่าการทำความสะอาดจะแล้วเสร็จ ถ้ามีการหกรั่วของกรดไนตริกให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ – จัดให้อากาศถ่ายเทได้ดี ณ บริเวณที่มีการหกรั่วของกรดไนตริก – ชะล้างบริเวณที่มีการหกรั่วของกรดไนตริกด้วยน้ำปริมาณมากๆ หรือใช้สารที่มีความเป็นด่าง เช่นโซเดียมคาร์บอเนต เพื่อลดความเป็นกรดให้มีสภาวะเป็นกลาง

วิธีการกำจัดกรดไนตริก

การกำจัดกรดไนตริกสามารถทำได้ โดยการทำให้เป็นกลาง โดยใช้น้ำหรือสารที่มีความเป็นด่าง เช่นโซเดียมคาร์บอเนต และกำจัดทิ้งในพื้นที่ที่จัดไว้

การจัดเก็บ
  • เก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • เก็บไว้บริเวณที่อุณหภูมิต่ำ และแห้ง
  • เก็บให้ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดความร้อน หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
  • เก็บไว้ให้ห่างจากน้ำ หรือ บริเวณที่มีความชื้นสูง

Go to Top