Oxalic Acid – ออกซาลิก แอซิด
กรดออกซาลิก มีลักษณะทางกายภาพเป็นของแข็งในรูปผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่นเป็นกรดอินทรีย์ที่สามารถพบได้ทั้งในร่างกายมนุษย์ สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ หรือพบในอาหารทั่วไป ถูกใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วยป้องกันการบูดเน่าของอาหาร รวมถึงใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อาทิ ใช้เป็นสารทำความสะอาด สารตัวทำละลาย และสารฟอกสี เป็นต้น แต่กรดออกซาลิกก็มีความเป็นพิษเช่นกัน ได้แก่ ทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะภายใน ทั้งระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
ชื่อผลิตภัณฑ์ : OXALIC ACID | ออกซาลิก เอซิด
สูตรเคมี : C2H2O4
ORIGIN: CHINA | จีน
PACKING (Kg): 25kg
รายละเอียดเพิ่มเติม
กรดออกซาลิก
จัดเป็นกรดอินทรีย์ที่ให้ค่าความเป็นกรดสูงเทียบเท่ากรดอนินทรีย์เข้มข้นชนิดอื่นๆ คือ ให้ค่าความเป็นกรด (pH) ที่ 1.3 ที่ความเข้มข้น 0.1 N และมีค่าความเป็นกรดสูงมากกว่าอะซิตริก หรือ กรดน้ำส้ม (Acetic acid) ถึง 10,000 เท่า
กรดออกซาลิกในธรรมชาติ
ในธรรมชาติ กรดออกซาลิกจะไม่พบอยู่ในรูปของผลึกกรดออกซาลิกโดยตรง แต่จะพบได้ในรูปของเกลือออกซาเลทต่างๆ เนื่องจาก กรดออกซาลิกเมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ สัตว์ พืช หรือ จุลินทรีย์ จะละลายน้ำอยู่ในรูปของออกซาแลท (2C22O4-2) และจับกับเกลือชนิดต่างๆ ได้เป็นเกลือออกซาเลทของสารนั้น เช่น โพแทสเชียมออกซาเลท (KC2O4) แคลเซียมออกซาเลท (CaC2O4) โซเดียมออกซาเลท (Na2C2O4) หรือ แมกนีเซียมออกซาเลท (Mg2C2O4) เป็นต้น
การใช้ประโยชน์กรดออกซาลิก
- กรดออกซาลิก ใช้เป็นสารกันบูดในอาหาร ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อหรือควบคุมจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า โดยใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำเร็จรูป
- กรดออกซาลิก ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดสำหรับทำหน้าที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
- ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง สิ่งทอ สิ่งพิมพ์ และการฟอกย้อม อาทิ ใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นสารฟอกสี เป็นต้น รวมถึงใช้ทำความสะอาดต่างๆในกระบวนการผลิต เช่น ใช้ล้างกำจัดสีหรือคราบน้ำมัน รวมถึงใช้ทำความสะอาดเนื้อไม้
ความเป็นพิษกรดออกซาลิก
- พิษเฉียบพลัน
- การรับกรดออกซาลิกเข้าสู่ร่างกายโดยตรงในปริมาณมาก ในช่วง 5-15 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากปริมาณกรดออกซาลิกที่ได้รับดังกล่าวสามารถที่จะจับกับแคลเซียม (Ca) และโพแทสเซียม (K) ในร่างกายปริมาณมาก ทำให้ปริมาณของแคลเซียม และโพแทสเชียมในร่างกายลดลงจนส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทล้มเหลว เกิดอาการชัก ระบบกล้ามเนื้อของอวัยวะต่างๆไม่ทำงาน เช่น สมองไม่ทำงาน รวมถึงหัวใจวายกะทันหัน จนเสียชีวิตในที่สุด
- หากได้รับในปริมาณไม่มาก และได้รับในปริมาณที่สามารถแสดงความเป็นพิษแบบเฉียบพลันได้ เนื่องจาก เมื่อออกซาเลทรวมตัวกับแคลเซียมได้เป็นแคลเซียมออกซาเลท สารนี้จัดเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดการระคายเคือง และทำลายเนื้อเยื่อต่างๆได้ ซึ่งจะแสดงอาการเบื้องต้น ได้แก่ มีอาการปวดท้องปวดในกระเพาะอาหาร และลำไส้ มีอาการอาเจียน และท้องร่วง หรือหากมีบาดแผลมักพบลักษณะเลือดไม่หยุดไหล เพราะความสามารถในการแข็งตัวของเลือดลดลง
- กรดออกซาลิกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง การสัมผัสกับกรดออกซาลิกโดยตรงจะทำให้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ทั้งต่อผิวหนัง และตา อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ ผิวหนังเป็นผื่นแดง เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน อาจเกิดแผลผุพองตามมา หากสัมผัสดวงตาจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และอาจทำให้ตาบอดได้
- พิษเรื้อรัง
พิษเรื้อรังจากร่างกายได้รับกรดออกซาลิกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่- เกิดโรคนิ่วในไต และกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจาก หลังร่างกายได้รับกรดออกซาลิก ทั้งที่ได้รับจากอาหารหรือการการรับกรดออกซาลิกเข้าสู่ร่างกายโดยตรง กรดออกซาลิกจะแตกตัวกลายเป็นออกซาเลท (C2O4-2แล้วเข้ารวมกับแคลเซียมในร่างกายกลายเป็น แคลเซียมออกซาเลท (CaC2O4) เป็นผลึกสะสมในไต และกระเพาะปัสสาวะจนเกิดเป็นนิ่วนั่นเอง
การป้องกัน และลดความเป็นพิษ
- ห้ามดื่มกินกรดออกซาลิก และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดออกซาลิกสูง เช่น พืชชนิดต่างๆที่มีกรดออกซาลิกสูงดังแสดงข้างต้น
- เมื่อเกิดพิษจากกรดออกซาลิก ให้รับประทานอาหารเสริมแคลเซียม และโพแทสเซียมเ หรือ อาหารที่มีแคลเซียม และโพแทสเซียมสูง เพื่อชดเชยกับส่วนที่หายไปในร่างกาย
- เมื่อเกิดพิษจากกรดออกซาลิก ให้รับประทานอาหารเสริมของธาตุอื่นๆ อาทิ ฟอสฟอรัส และโซเดียมเพื่อช่วยลดปริมาณออกซาเลท และป้องกันแคลเซียม และโพแทสเซียมในร่างกายไม่ให้รวมตัวกับออกซาเลท
- เมื่อเกิดพิษจากกรดออกซาลิก ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการเจือจางออกซาเลท และช่วยขับออกซาเลทหรือเกลือออกซาเลทผ่านทางปัสสาวะ
การจัดเก็บ
- เก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- เก็บไว้บริเวณที่อุณหภูมิต่ำ และแห้ง
- เก็บให้ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดความร้อน หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
- เก็บไว้ให้ห่างจากน้ำ หรือ บริเวณที่มีความชื้นสูง